จากภาพจะเห็นว่าระบบอัดอากาศมีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าสูงกว่ามูลค่าเครื่องอัดอากาศเสียอีก ดังนั้นหากเราจัดการระบบอัดอากาศอย่างเหมาะสมจะสามารถประหยัดพลังงานนับเป็นมูลค่ามหาศาล ระบบอัดอากาศจะประกอบไปด้วย

Supply คือ ส่วนจัดหาอากาศ ได้แก่ เครื่องอัดอากาศและการปรับปรุงคุณภาพของอากาศ
Demand คือ ส่วนการใช้งานอากาศอัด ซึ่งรวมถึงระบบจัดเก็บ ระบบส่ง และอุปกรณ์ที่ใช้อากาศอัดถ้าบริหารจัดการส่วนจัดหาอากาศได้ดี จะทำให้ได้อากาศที่สะอาด แห้ง และมีอัตราการส่งที่สม่ำเสมอ ณ ความดันที่เหมาะสม การบริหารจัดการส่วนการใช้งานอากาศอัด จะเป็นการลดปริมาณการสูญเสียของอากาศอัดลง สามารถใช้อากาศอัดในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
แนวทางการประหยัดพลังงานในระบบอัดอากาศ มีดังนี้
1. การลดอุณภูมิของอากาศก่อนเข้าเครื่องอากาศ
อากาศที่มีอุณภูมิต่ำจะมีความหนาแน่นสูงกว่าอากาศที่มีอุณหภูมิสูง เมื่อถูกอัดเข้าไปในเครื่องอัดอากาศจะได้เนื้ออากาศอัดที่มากกว่า ดังนั้นบริเวณที่ติดตั้งเครื่องอัดอากาศจะต้องมีการระบายอากาศที่ดี
2. การลดการรั่วไหลของอากาศอัด
หากทดสอบการรั่วไหลของอากาศอัดแล้วมีค่าเกินกว่า 5% ควรรีบดำเนินการแก้ไข ซึ่งการลดการรั่วไหลของอากาศอัดนั้นจะช่วยลดการสูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์ ลดปัญหาแรงดันอากาศตก และลดการใช้งานของเครื่องอัดอากาศ ตำแหน่งที่พบการรั่วไหลบ่อย ได้แก่ วาล์ว หน้าแปลน ข้อต่อต่างๆ
3. การจัดโหลดเครื่องอัดอากาศให้เหมาะสมกับความต้องการ มีขั้นตอนดังนี้
3.1) ให้เครื่องที่มีกำลังการผลิตมากกว่าเป็นตัวหลักในการทำงาน และเครื่องขนาดรองเป็นตัวเสริมโหลด
3.2) เลือกเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุดเป็นตัวหลัก เพราะจะใช้พลังงานน้อยกว่า
3.3) ควรทราบปริมาณอากาศอัดในแต่ละช่วง เพื่อการวางแผนการเดินเครื่อง เช่น ในช่วงเวลากลางคืนความต้องการปริมาณอากาศอาจลดลง ควรเลือกเดินเครื่องอัดอากาศให้เหมาะสมโหลดตามช่วงเวลา
การจัดโหลดเครื่องอัดกาศจะช่วยให้
- สามารถควบคุมการทำงานของเครื่องให้เหมาะสมกับความต้องการ
- ช่วยประหยัดพลังงานโดยการเลือกเครื่องมาให้งานตามความเหมาะสม
- ลดปัญหาการเดินตัวเปล่า และเดินเครื่องซ้ำซ้อน